วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2554

นํ้าท่วมคราวนี้ เรื่อยเปื้อยกับความคิด

นํ้าท่วมคราวนี้ ทำให้เห็นทางนํ้าพอสมควร ของการวางไว้ในอดีต ช่วงสร้างเขือน ถ้าควบคุมนํ้าตั้งแต่ต้นทางจนถึงลงอ่าวไทย ภัยจากนํ้าจากมากก็จะเสียหายน้อยลง แต่ด้วยความเจริญที่เข้ามากับสิ่งที่มีอยู่และสภาพภูมิภาคของประเทศ ด้วยสภาพของลุ่มนํ้าถูกแปรเปลี่ยน ด้วยความเจริญที่รู้ไม่เท่าทัน หลายปัจจัย ปริมาณนํ้า การไหลของนํ้าเวลาของฤดูกาล ต้นนํ้า ปิง วัง ยมน่าน ลุ่มนํ้า ปิงวัง หรือส่วนของทางเหนือ จะมีเขือนภูมิพลรองรับส่วน 1 นํ้าจะผ่าน ตาก กำแพง เข้านครสวรรค์ ส่วน น่าน ยม ตั้งแต่ เหนือตอนล่าง ผ่าน สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร(แต่ละจังหวัดจะมีสายนํ้าหลักของแต่ละอำเภอ) เข้านครสวรรค์ เป็นจุดแรกของการพักนํ้าขนานใหญ่ที่จะลงสู้อ่าวไทย ลุ่มนํ้าสุโขทัย พิษณุโลกพิจิตรจะท่วมหรือท่วมนานไม่นานอยู่ที่ นครสวรรค์ จากตรงนี้ นํ้าจะลงสู้อ่าวไทย หลักคือเจ้าพระยา ลุ่มนํ้าย่อยแต่เป็นสายหลักของแต่ละจังหวัด ผ่านลงสู้อ่าวไทยทางด้าน(แต่ละจังหวัดจะมีสายนํ้าหลักของแต่ละอำเภอ) อุทัย สุพรรณ ชัยน่าน สิงห์บุรี เพชรบุรี สมุทสาคร สมุทสงคราม อยุธยาคือจุดพักนํ้าที่ 2 จะรับนํ้าจากภาคเหนือและลุ่มนํ้าป่าสัก (เมืองหลวงของประเทศ คือ กทม.) อยุธยาจะท่วมมากหรือท่วมน้อยอยู่ที่นํ้าลงมาจากนครสวรรค์และลุ่มป่าสัก ทำมัย กทม จึงเป็นเมืองหลวงด้วยเหตุทำเล่ทุกด้านและความปลอดภัย ลุ่มนํ้าป่าสักจะผ่านออกทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพลงสู้อ่าวไทย นํ้าจากนครสวรรค์จะส่งผ่านออกทางฝั่งตะวันตกลงสู่อ่าวไทย การระบายนํ้าช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับสายนํ้าไหลจากที่สูงลงที่ตํ่าและระยะทาง