วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

ใช่ - หรือ - ไม่ใช่ ธรรมชาติ

ใช่ - หรือ ไม่ใช่ ..ตื่นเต้นกับการตื่นตัว..แต่ไม่ตะหนกต่อการเปลี่ยนแปลง เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ก็ต้องทำความเข้าใจ หากเรามีข้อขัดแจ้งกับผู้ที่สูงวัยกว่ามักถูกสบประมาท..คำเปรียบอาบนํ้าร้อนมาก่อน (ในความหมายคือผ่านร้อนผ่านหนาวในความหมายของร้อนและหนาวคือผ่านอุปสรรค) แม้จะเป็นความจริงและถูกต้อง และหากเราไม่มีวุธิการศึกษาใบประกาศศักดา แม้สิ่งที่เราพูดสิ่งที่เราแสดงออกจะถูกต้อง..ก็จะถูกสบประมาท โดยถูกกล่าวอ้างจากใบประการศักดาจากใบอะไรก็ได้ที่จบจากการศึกษามา เป็นธรรมดา คุณวุฒิ กับวัยวุฒิ ยอมแตกต่างกัน ประทศของเรา อยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตร ภูมิอากาศของเรา ร้อน ชื่น สูงสุดจากนํ้าทะเล คือดอยอินทนนท์ ตํ่าสุดจากลำดับนํ้าทะเล คือ กทม. ที่ยังมีผืนดินสูงกว่าและตํ่ากว่าในบางเวลา ประเทศของเราเป็นไปตามวงโคจรแรงโน้นถ่วงและวงจรสิ่งมีชีวิตที่เกื้อหนุนโดยววิวัฒนาการจากสิ่งที่เป็นอยู่ อากาศ ดิน นํ้าจืด ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อสิ่งที่มีชีวิต ขาดอากาศ ไม่มีสิ่งมีชีวิต ขาดนํ้าจืดไม่มีสิ่งมีชีวิตที่ใช้นํ้าจืด ขาดผืนดินโลกก็คงไม่มีอยู่ ประเศของเรา เวลาที่ร้อนก็จะร้อน ตามรอบการหมุนของรอบโลก ประเทศของเราเวลามีฝนก็จะมีตามการหมุนรอบของโลก เป็นไปตามรอบตามการเปลี่ยนแปลงมากบางน้อยบาง 012345และก็012345 สลับปรับเปลี่ยนของสมดุลร้อนมากๆก็จะมีฝน..มีฝนมากๆก็จะร้อน ม้วนอากาศเย็นและม้วนอากาศร้อนด้วยแรงลมเป็นสิ่งกำหนดความเปลี่ยนแปลง ต่อโลกการเปลี่ยนในปัจจุบันวิวัตถนาการทางความคิดทำให้เกิดสิ่งใหม่เพื่ออำนวยความสะดวกและเพื่อความปลอดภัยจากภัยธรรมชาติที่ไม่อาจทราบได้ สิ่งมีชีวิตที่มีอยู่รายรอบตัวเรา ป่าสิ่งที่มีชีวิตที่เราเรียกกันว่าพืช สัตว์สิ่งมีชีวิตมีลมหายใจ ล้วนแล้วแต่ผ่านเวลาผ่านการเอาตัวรอดจากภัย ภัยที่ตั้งใจให้เกิด ภัยที่เกิดจากธรรมชาติ มาอย่างยาวนาน สมดุจของประเทศเรา ก็จะไม่เหมือนประเทศอื่นๆที่ไม่ได้อยู่ในแนวเดียวกับเรา คือแนวเส้นศูนย์สูตร ภูมิประเทศที่เป็นที่สูงและเป็นเขา ธรรมชาติก็สันสร้างต้นไม้น้อยใหญ่ เพื่อดูดซับนํ้าที่ตกลงมา หากเกิดร้อนก็ผ่อนคลายด้วยความชุ่นชื่นที่เก็บไว้ พื้นที่ทีราบตํ่าก็สันสร้างทางตามราบเอียงของความสูงลงที่ตํ่า คือทางนํ้า สัตว์เล็กสัตว์ใหญ่ ก็สันสร้างให้เกื้อหนุนกับป่าตามวงจรชีวิต รวมถึงมนุษย์เราด้วย การขุด การเจาะ การแสวงหาผลประโยชน์จากธรรมชาติ นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนใดๆก็ตามหากแม้มเพียงน้อยนิดที่มีผลต่อโลก ภัยมหันต่อสิ่งมีชีวิต

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

ใช่ - หรือ - ไม่ใช่ 2 ล้าน ล้านหรืออีกกี่ ล้านๆหรือจะกี่คณะรัฐบาล

ใช่ - หรือ -ไม่ใช่ ...2 ล้าน ล้าน หรืออีกกี่ ล้าน ล้าน ๆหรือจะกี่คณะรัฐบาล เพียงแค่มุมหนึ่งของความคิด ศิวิไลรุ่งโรจน์โชติช่วงชัชชะวานบานบะเลอเทอ แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ เพื่อ คนส่วนใหญ่ของประเทศ ร้อยละ 70 หรือเพื่อคนของประเทศ ร้อยละ 30 ของประเทศ แสงสว่างปลายอุโมงค์เพื่ออะไร ในเมื่อ ประเทศ มีรายได้หลักหรือมีความสามารถหลัก คือการเกษตร รองลงมาสินทรัพย์ในดิน สินทรัพย์ธรรมชาติ สุดท้าย ฝีมือแรงงานและแรงงาน คมนาคมคือสิ่งสำคัญ ดิน นํ้า ลม ไฟ  (ดิน ทางรถ ทางราง) (นํ้า เรือเล็กเรือใหญ่) (ลมหรืออากาศ ลำเล็กลำใหญ่) (ไฟ คงไม่มีวอนวายหมดแน่ถ้าเผาผลาน)  เราประชาชนที่รับรู้ข่าวสารก็อดสงสัยไม่ได้ กับสิ่งที่ผ่านมาและกำลังดำเนินอยู่และในภายภาคหน้าที่ผลของการกระทำนะปัจจุบัน คิดแบบไม่ต้องคิดอะไรมากให้ซับซ้อน ทุกอย่างแลกเปลี่บยด้วยเงิน ซื้อมาขายไปหรือว่าลงทุน ความสามารหลักๆของคนส่วนใหญ่คือการเกษตร หลักๆของประเทศ คือ ข้าว ยาง อ้อย มัน ผลไม้ อื่น ๆ อันนี้ 70 ของคนส่วนใหญ่ของประเทศ  อีก 30 มาจากสินทรัพย์ในดิน สินทรัพย์ธรรมชาติ ฝีมือแรงงานและแรงงาน โดยหลักของส่วนนี้อุสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ทำมัยแสงสว่างปลายอุโมงค์ ก็เพราะ ชดเชยทุกอย่างที่ขาย ยกเว้นอ้อย ผลิตทุกอย่างที่ไม่ใช่ของเรา มีแต่นักบริหารฝีมือน้อยเต็มทน แรงงาน เพื่อนบ้านเข้าทำแทน พอสังเขปเพียงแค่อีกมุมของความคิดธรรมดาสามัญชน

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

ใช่ - หรือ - ไม่ใช่ ได้อะไรกับกองทุนปรับโครงสร้างเกษตร หรือมีไว้ขัดตาทัพ ในความหมาย (การถ่วงเวลา รับหน้าก่อน)

ชื่อเต็มๆ ...กองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ที่มาสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร พอได้อ่านชื่อเหมือนเป็นความหวัง แต่พออ่าน พ.ศ. การจัดตั้งกฏระเบียบ พ.ศ.๒๕๔๘ และนับจำนวนปี 8 ปี ถึงปัจจุบัน อ่านรายละเอียดการดำเนินงาน มีแต่เรื่องการการเบิกจ่าย มีแตเรื่องกฏระเบียบการเบิกจ่าย ก็คงจะเป็นลักษณะ การกระทำการใดๆต้องมีค่าใช้จ่ายและต้องมีกฏระเบียบในการจ่าย อ่านในกฏระเบียบการเบิกจ่าย ก็สวยหรู จ่ายเพื่อ ทดลอง วิจัย เพื่อเพิ่มผลผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ในความเข้าใจ ทดลอง วิจัย คือ เพิ่มคุณภาพปริมาณและผลผลิตให้มีคุณภาพ ส่วนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ คือ การ วิจัย ทดลอง ผลผลิตทางการเกษตรของประเทศเพื่อแปรรูป เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน อ่านแล้วเกินข้อสงสัย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นปัจจุบัน รับชื้อข้าว รับชื่อมัน รับชื้อยาง และอื่นๆ ยกเว้น อ้อยที่ผลิตผลต่อปีไม่เพียงพอต่อความต้องการ หรือประเทศของเราขาดคนที่มีความรู้ความสามารถทางด้านนี้ ทั้งที่มีกองทุนเพื่อพัฒนาทุกๆด้าน ทั้งเพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพ และแปรรูปเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จากความเป็นจริงทุกอย่างสวนทางทั้งหมด นักศึกษาจบใหม่วางงานเป็นแสนๆ สินค้าการเกษตรราคาตกตํ่า และอื่นๆ