วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

อำนาจในคำว่าประชาธิปไตย

ในความเห็นอาจจะไม่ใช่ - หรือใช่ ความเป็นไปในประเทศไทยระหว่าง 10 ปีที่ผ่าน ของการเรียกร้องระบบระบอบประชาธิปไตย ควบคู่กับการเจริญเติบโตของประเทศ อำนาจหรือขั้วอำนาจเริ่มเด่นชัดในระบบระบอบประชาธิปไตยของรัฐธรรมนูญในความหมาย(ระเบียบข้อบังคับหรือกฎกติกาในการใช้ของส่วนรวมเพื่อความสงบและผ่าสุกภายในประเทศ) ขั้วที่สร้างอำนาจแบ่งออกได้ ภาคนักการเมือง ภาคนักวิชาการ ภาคนักธุรกิจ ภาคข้าราชการ ภาคพ่อค้าประชาชน ความวุ่นวายเริ่มเด่นชัด เมื่อการใช้อำนาจในระบอบประชาธิปไตย เบียงเบนจุดประสงค์ แอบแฟงด้วยอำนาจที่ควรจะเป็น ความวุ่นวายก็ทวีความรุ่นแรงดังที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ขั้วอำนาจเสื้อเหลือง ยับยั่งโดยสถาบันหลักรั้วของชาติ ขั้วอำนาจเสื้อแดง ขั้วอำนาจหลากสี (ในความหมายของขั้วอำนาจในระบบประชาธิปไตยคือภาคต่างๆที่กล่าวของแต่ละคนมีความเห็นที่ตรงกันจึงรวมเป็นกลุ่มในแต่ละความเห็นที่ตรงกัน) ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมรับในกฎกติกาหรือข้อบังคับ ต่างฝ่ายต่างสร้างกฎระเบียบของกลุ่มตัวเองขึ้นมาเพื่อต่อรอง เวลาที่ผ่านมากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเครื่องชี้นำเป็นอย่างดีว่า ประเทศของไทยมี 77 จังหวัดต่างเชื้อชาติต่างเผ่าพันธุ์กันกระจายอยู่ต่างมีฐานอำนาจของแต่ละฝ่าย การปลดปล่่อยหรือการสร้างอำนาจใหม่ คำว่าประชาธิปไตยหรือระบบระบอบประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดถ้าอำนาจนั้นต้องการพูกขาด