วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ใช่ หรือ ไม่ใช่ วิฒนาการประชาธิปไตย แบบไทยๆ

ถ้าเล่าแล้วยาวเอาพอสังเขจ...การเกิดเหตุการณ์ต่างๆในประเทศไทยเกี่ยวกับระบบระเบียบข้อปฏิบัติตั้งแต่ในอดีต ถึงปัจจุบัน จากเดิมคือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับระบอบเผด็จการ เพราะว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองเป็นของพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียวเท่า นั้น พระมหากษัตริย์ได้อำนาจมาด้วยการสืบสันตติวงศ์ หรือการปราบดาภิเษก ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการสถาปนาหรือคัดเลือกพระมหากษัตริย์เลย (อ้างอิงจากเว็บ http://www.baanjomyut.com/library_2/thailand_political_evolution/index.html )ชนชั้นกลางและชั้นการปกครองมีความเห็นที่ต้องการ คือระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะคล้ายระบอบเผด็จการแต่ไม่ใช่เผด็จการ เพราะอำนาจสูงสุดในการปกครองอยู่ที่เสียงข้างมากเท่านั้น โดยใช้วิธีให้ประชาชนเลือกทางอ้อม(เลือกตัวแทน) มีกฏเกณฑ์จัดตั้งเป็นคณะรัฐบาลปกครองประเทศโดยใช้เสียงข้างมาก มีฝ่ายค้านเป็นเสียงข้างน้อย พูดแบบชาวบ้านหรือการปกครองแบบบ้านไทยๆ คือ พวกใครพวกมัน ถ้าจะถามหาความผิดที่มีผล คือ หลักฐานชัด กระทำความผิดแบบร้ายแรง ถึงจะผิด หรือถ้าคนที่ผิดเป็นบุคคลอันเป็นที่รัก ก็ยากที่จะผิดนอกเสียจากผิดมะหัดหรือผิดร้ายแรงมากมาก ถึงจะมีความผิด รัฐประหารกี่ครั้ง รัฐยุบคณะปกครอง(ยุบสภา)เองกี่ครั้ง ยุบสภาก็ด้วยฝ่ายค้าน ส่วนรัฐหารก็ด้วยประชาชน การเกิดขึ้นทุกครั้งต่างมีประโยชน์ ไม่ว่าจะยุบด้วยเรื่องอะไร ไม่ว่าจะรัฐหารด้วยเรื่องอะไร การปรับตัวเองในกฏข้อระเบียบต่างๆของแต่ละฝ่าย การกระจายอำนาจต่างๆของฝ่ายปกครองเพื่อมีส่วนรวมในการตัดสินใจในส่วนถูมิภาคของตัวเอง การมีภาคประชาชนคือการรวมตัวกันในการมีส่วนรวมในตัดสินใจที่จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่อยู่อาศัยภูมิลำเนาของตัวเอง จากเดิมฝ่ายปกครองเป็นฝ่ายปฏิบัติเพียงฝ่ายเดียวโดยปฏิบัติตามคำสั่งจากส่วนกลางของภาครัฐหรือนโยบายของคณะรัฐบาท แปรเปลี่ยนเป็นคนกลาง นำเสอนข้อมูลทั้งสองฝ่าย  (กฏหมู่อยู่เหนือกฏหมายนั้นแหละคือไทยแท้ การทำกฏหมายให้เป็นกฏหมู่ คือวิวัฒนาประชาธิปไตยแบบไทยๆ)